ข้าวต้มกุ๊ยแรกเริ่มเรียกกันว่า ข้าวต้มพุ้ย โดยเรียกจากอากัปกริยา เวลาคนจีนกิน มักจะนั่งยองๆ แล้วใช้ตะเกียบพลุ้ยข้าวเข้าปาก
คำว่า ข้าวต้มกุ๊ย จริงๆแล้วคนไทยเรียกเพี้ยนมาจากข้าวต้มพุ้ย
คำว่า “พุ้ย” เป็นคำแต้จิ๋ว คือลักษณะการเอาตะเกียบเขี่ยข้าวเข้าปาก
ส่วนคำว่า “กุ๊ย” แปลว่า ผี หรือใช้เรียกเด็กวานซืนจอมแสบ
คนไทยไปได้ยินคนจีนพูดแล้วเอามาใช้ในความหมายที่เพี้ยนไป

2.”จับกัง” ผู้ใช้แรงงาน รับจ้างแบกหาม ยกของ แต่เดิมเรียกว่า “กุ๊ย” ด้วยรายได้ไม่มาก จึงทานอาหารง่ายๆ ราคาถูก เช่น ไข่เค็มหนึ่งซีก กับข้าวต้มเต็มถ้วยก็อิ่มท้อง และราคาเบา

3.ในช่วงก่อสร้างถนนแถวราชดำเนิน และถนนเลียบคลองหลอด มีการเกณฑ์แรงงานคนจีนที่เข้ามาเมืองไทย และทำงานโดยใช้แรงงานมารับจ้าง หัวหน้าที่คุมงานแสนแล้งน้ำใจ นำค่าจ้างที่ได้จากการรับเหมามาจัดสรรเลี้ยงข้าว กุ๊ย ด้วยข้าวต้ม

ส่วนกับมักจะผัดก้อนกรวดกับเกลือให้คนงานได้อมเพื่อแกล้มกับข้าว นานๆ ครั้งจึงจะมีผัดผักกาดดองบ้าง หรือเต้าหู้ยี้ ให้กินแกล้ม เป็นเช่นนี้จนกระทั่งงานก่อสร้างถนนแล้วเสร็จ
นับแต่นั้น จึงเรียกข้าวต้มขาวๆ ในน้ำใสบ้าง ข้นบ้าง นี้ว่า “ข้าวต้มกุ๊ย”
และต่อมา ได้มีการพัฒนาเรื่องกับข้าวที่ทานคู่กัน พร้อมความนิยมที่กว้างขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคนไทย หรือคนจีนก็นิยมกิน…บ้างก็ยกชั้นเมนูนี้ถึงระดับอาหารเหลา ดังที่เราพบในปัจจุบัน

Cr.ข่าว https://m.facebook.com/profile.php?id=447183535381703

Total Views: 230 ,
ความเห็นล่าสุด